บล็อกของฉัน

I am Nihna































วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

หน่าวยที่๒เบ้าหลอมวัฒนธรรม




วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น

2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย




ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น

















ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม


ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยม
เนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้ การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

สาเหตุความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ
เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกันไปจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงหรือเขตทะเลทราย
3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลักษณะงาน และการทำงาน จะทำให้มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นคนที่มีความคิดแบบตะวันตก นิยมใช้เทคโนโลยีจะแตกต่างกันกับการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรมหรือพึ่งพาธรรมชาติ

ความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์
- ความเชื่อหมายถึง ความไว้วางใจ ความมั่นใจ หรือความเห็นชอบ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและยินดีที่จะปฏิบัติ
- ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติ

ความเชื่อและค่านิยมที่นำไปสู่ความขัดแย้ง
- ความเชื่อในหลักศาสนา
- ความเชื่อในไสยศาสตร์
- ความเชื่อในหลักปรัชญา
- ความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง


ความเชื่อในสังคมไทย
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา และความเชื่อพื้นบ้าน ได้แก่
- ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
- ความเชื่อเรื่องการเกิด การตาย
- ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
- ความเชื่อเรื่องพิธีกรรม
- ความเชื่อเรื่องอาชีพ

ความเชื่อและค่านิยมทางศาสนา
ศาสนา หมายถึง หลักคำสอนที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์
ปัจจุบันศาสนาที่มีคนนับถือมาก คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งศาสนามีอิทธิพลต่อการสร้างทัศนคติ หรือค่านิยมของคนในสังคมทั้งทางบวกและทางลบที่แตกต่างกัน รวมทั้งความเชื่อ และพิธีกรรมที่แตกต่างกัน สิ่งที่ทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทุกศาสนาสอนให้คนทุกคนประพฤติตนเป็นคนดี

ความเชื่อและค่านิยมทางลัทธิ
ศาสนาลัทธิ หมายถึง คำสั่งสอนที่มีผู้ยึดถือหรือเชื่อถือเป็นจำนวนมาก มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้นับถือ ลัทธิที่มีอิทธิพลต่อสังคม ได้แก่
- ลัทธิเสรีนิยม เป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญในการให้อิสระและเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิด และการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- ลัทธิประชาธิปไตย เป็นลัทธิที่ยึดหลักการปกครองที่มุ่งหวังผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่
- ลัทธิทุนนิยม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบการ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการแสวงหาผลกำไรตามความสามารถของตนเอง
- ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิที่ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชาชนในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทุกคน
- ลัทธิสังคมนิยม
เป็นลัทธิที่มีการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจในสังคม
- ลัทธิปัจเจกชนนิยม เป็นลัทธิที่มีความเชื่อในตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ ลัทธินาซี
- ลัทธิชาตินิยม เป็นกระแสความคิดและความรู้สึกของคนหรือกลุ่มคนที่มีความรักชาติของตนเอง อย่างรุนแรง
- ลัทธิเหยีดสีผิว
เป็นแนวความคิดที่แบ่งแยกสีผิวในประเทศแถบตะวันตก เกิดขึ้นในสมัยที่มีการแสวงหาอาณานิคม ทำให้เกิดการเหยียดสีผิวกันขึ้น เช่น ชาวผิวดำจะถูกรังเกียจจากคนผิวขาว


ความเชื่อและค่านิยมทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในสังคมหนึ่ง ๆ และเป็นวิถีการดำเนินชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมของคนในสังคม วัฒนธรรมจึงมีรูปแบบของตนเองและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลา
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์ประกอบทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของคนแต่ละกลุ่ม ให้มีความแตกต่างกัน ได้แก่
- ความเชื่อ
- ค่านิยม
- ศาสนา
- เชื้อชาติ


บริเวณวัฒนธรรม หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม อย่างเห็นได้ชัด

การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมมีหลายรูปแบบ ได้แก่
- วัฒนธรรมโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เช่น โลกตะวันตกนิยมนับถือความคิดของบุคคลเป็นหลัก ส่วนโลกตะวันออกยึดถือสังคมมากกว่าความคิดของบุคคล
- การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมตามประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศจีนมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประเทศไทย
- การแบ่งบริเวณวัฒนธรรมในท้องถิ่น ในแต่ละประเทศยังมีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมในแต่ละภาคแตกต่างกัน


การพิจารณาความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
- ศาสนา เป็นหลักคำสอนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ แต่ความแตกต่างกันในการนับถือศาสนาเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันได้ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้เสมอ
- ความเชื่อ สังคมหนึ่งมีความเชื่อที่แแตกต่างกันไป เช่น ชาวยิวเชื่อว่าดินแดนปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่พระเจ้าประทานให้ชาวยิว แต่ชาวอาหรับไม่เชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดความขัดแย้งและนำไปสู่ภาวะการทำสงครามกัน
- ค่านิยม ค่านิยมเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ต่อกันมา วัฒนธรรมแตกต่างกันค่านิยมย่อมแตกต่างกัน เช่น สังคมตะวันตกไม่เคร่งครัดในความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง ส่วนโลกตะวันออกมีการเคร่งครัดในเรื่องนี้


การแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
1. ศึกษาเรียนรู้ และยอมรับวัฒนธรรมของชนชาติอื่น เพื่อทำความเข้าใจในความจำเป็นของประเทศนั้น ๆ
2. จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับระหว่างกัน
3.การปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางความเชื่อค่านิยมและวัฒนธรรม

ปัจจุบันโลกมีการสื่อสารและคมนาคมที่กว้างไกล มีการยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน และสามารถปรับโลกทัศน์ระหว่างกันได้ จึงช่วยให้ผู้คนสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมสากล ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมจึงเริ่มลดน้อยลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป